อาสาสมัครแรงงาน
อาสาสมัครแรงงาน หมายถึง ผู้ที่สมัครใจทำงานให้กับกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เกิดสันติสุขด้านแรงงานแก่ผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป รวมทั้งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในต่างประเทศในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน หรือผู้ใช้แรงงานที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านแรงงานในพื้นที่
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งอาสาสมัครแรงงาน
- เพื่อเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านแรงงานให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง
- เพื่อทำหน้าที่สร้างความรู้ ความเข้าใจในสาระความรู้เกี่ยวกับการให้บริการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เบื้องต้นตามกฎหมายแรงงานให้แก่คนหางาน ผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ เพื่อป้องกันการหลอกลวงเกี่ยวกับการหางานและการใช้แรงงาน
- เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเบื้องต้นระหว่างคนหางาน ผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่กรณีเกิดปัญหาการหลอกลวงหรือปัญหาเกี่ยวกับการใช้แรงงาน เป็นต้น
- เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการและความเคลื่อนไหวด้านแรงงานเบื้องต้น ในพื้นที่หรือข้อมูลอื่นตามที่หน่วยงานต้องการและจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับกระทรวงแรงงานหรือหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัด เพื่อนำไปพิจารณาวางแผนการดำเนินงานด้านแรงงานในพื้นที่ต่อไป
หน้าที่ของอาสาสมัครแรงงาน
- ประสานงานด้านแรงงานในพื้นที่ ระหว่างประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนกับกระทรวงแรงงานหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการขยายบริการด้านแรงงานไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนอย่างทั่วถึง
- เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ ให้คำปรึกษา และแนะนำด้านแรงงานให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน
- รวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านแรงงานในพื้นที่ ซึ่งกระทรวงแรงงาน สามารถนำมาใช้วางแผนในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวบรวมข้อมูลด้านแรงงานเบื้องต้นในพื้นที่และจัดทำรายงานตามแบบและระยะเวลาที่กำหนดแนบท้าย ส่งกระทรวงแรงงาน หรือหน่วยงานสังกัด กระทรวงแรงงานในจังหวัดทราบ
- ส่งเสริมประชาชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านแรงงานในหมู่บ้านและชุมชนของตนเอง
สิทธิประโยชน์ของอาสาสมัครแรงงาน
- อาสาสมัครแรงงาน อาจได้รับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นตามหลักเกณฑ์ที่ปลัดกระทรวงแรงงาน กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
- อาสาสมัครแรงงานที่ปฏิบัติงานดีเด่นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ให้ปลัดกระทรวงแรงงานผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหัวหน้าคณะผู้แทน คัดเลือกเพื่อเข้ารับโล่และเข็มประกาศเกียรติคุณอาสาสมัครแรงงานดีเด่น
ข้อมูลอาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม
แกนนำอาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม
|
จำนวน 36 คน
|
เครือข่ายอาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม
|
จำนวน 273 คน
|
1. อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
|
จำนวน 74 คน
|
2. อำเภออัมพวา
|
จำนวน 81 คน
|
3. อำเภอบางคนที
|
จำนวน 82 คน
|
คู่มือและทำเนียบอาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม
ดาวน์โหลดเอกสาร
แบบสรุปผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงาน (สภ.1)
แบบสำรวจความพึงพอใจการให้บริการประชาชน (สภ.5)
ใบสมัคร อสร.
แบบขึ้นทะเบียนหางาน
แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40)
ใบสมัครเข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ป 221)
สื่อประชาสัมพันธ์
แผ่นพับหน่วยงานสังกัด กรง.จ.สส
แผ่นพับค้ามนุษย์
แผ่นพับค้ามนุษย์ 1
คู่มือ
คู่มืออาสาสมัครแรงงาน
คู่มืออาสาสมัครแรงงานในการดำเนินงานป้องกันยาเสพติด